![]() |
08/04/2564 |
![]() |
ไอที - ซอฟต์แวร์/โทรคมนาคม |
![]() |
กทม. (วัฒนา) |
|
|
|
Storylog คือทีมสตาร์ทอัพที่เริ่มก่อตั้งกันช่วงปลายปี 2014 เข้าร่วมและได้รับเงินทุนโครงการ Dtac Accelerate ปีที่ 2 ก่อนจะได้รับเงินลงทุนจาก OokbeeU ที่เกิดจากการรวมตัวของ Ookbee และ Tencent China ในปี 2016 เราเริ่มต้นกันจาก Storylog (https://storylog.co) แพล็ตฟอร์มเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ ความคิด ชีวิต ความรัก ถึงปัจจุบัน มีเรื่องราวถูกถ่ายทอดในแพล็ตฟอร์มมากกว่า 200,000 เรื่อง จากนักเล่าเรื่องมากกว่า 20,000 คน ปี 2016 เราแตกแขนงมาพัฒนา Fictionlog (https://fictionlog.co) แพล็ตฟอร์มเขียน-อ่านนิยายออนไลน์ ที่นักเขียนสามารถเขียนและขายนิยายของตัวเองถึงคนอ่านได้โดยตรงบทต่อบท ทีมงานเราเป็นคนรุ่นใหม่ อายุเฉลี่ยที่ 25 ปี เราพยายามทำงานด้วยวัฒนธรรมที่เป็นกันเอง และกำลังอยู่ในขั้นดำเนินการสร้าง "Culture ในฝัน" !! ... Culture ในฝัน มันอาจจะฟังดูเลี่ยนๆ ขี้เว่อร์อยู่สักนิด ยิ่งในยุคนี้คำนี้มันถูกใช้บ่อยขึ้น ใครๆ ก็พูดกันถึง Culture คูลๆ ชิคๆ ในที่ทำงาน …ต้องมาอวดกันหน่อยว่าออฟฟิศฉันมีอะไรบ้าง ทำอะไรกันบ้าง โต๊ะปิงปองต้องมี บอร์ดเกมต้องมา อีกประเด็นนึงที่อยากบอกก่อนคือจริงๆ เรื่อง Culture และความอิสระต่างๆ นานา มันไม่ยากหรอกถ้าทีมคุณมี 5 คน ความยากมันคือตอนคนเยอะหลายสิบคนนี่แหละ เพราะมันจะเกิดปัญหาความไม่แฟร์หรือไม่มี Standard ขึ้น ส่วนทีมของเรานั้น ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 60 คน ซึ่งจริงๆ ส่วนของ Fictionlog มีอยู่ประมาณ 40 กว่าคน Storylog 1 คน (เดี๋ยวหาจังหวะกลับไปพัฒนานะ รอแพรพ) Bearcave Studio 10 คน ส่วน Management Support ที่ดูทั้ง 2 ฝั่งอีกประมาณ 8 คน อายุเฉลี่ยเราประมาณ 26 ปีเท่านั้น โดยมี ratio ชาย หญิง อยู่ที่ 40/60 นับว่าบริษัทยังอยู่ใน Size ไม่ใหญ่มาก เลยพอจัดเต็มข้อได้อยู่ อนาคตถ้าคนมากกว่านี้ก็ค่อยว่ากัน มาถึงเรื่องหลัก.. Culture ในฝันที่เราอยากสร้างเนี่ย มันเป็นยังไง? แน่นอนว่ามันต้องคูลๆ เอาใจวัยรุ่น และต้องคงไว้ในความเป็นตัวตนของพวกเรา ซึ่งความคูลที่ว่า เราลองจัดเต็มกันจนคูลไปเกือบจุดเยือกแข็ง! บุกเบิกความ cool แบบวันนาบีก่อนมันจะแมสมาหลายปี และนี่คือส่วนหนึ่งในวิถีการทำงานแบบสุดโต่งของพวกเรา
ทุกข้อที่กล่าวไปข้างบน มันไม่ใช่สิ่งที่เป็นแกนหลักในภารกิจสร้าง Culture ในฝันขนาดนั้นหรอก… มันยังมีอีกหลายอย่างที่เรายังทำไม่สำเร็จ และทำได้ไม่ดีพอ Culture การทำงานที่เราอยากให้เป็นมันไม่ใช่แค่ออฟฟิศคูลๆ มีเบียร์ มีโต๊ะปิงปอง ข้าวกลางวันฟรี มีบอร์ดเกม มีบีนแบ็ค ออฟฟิศสวยๆ อะไรเทือกนั้นๆ เราไม่ได้มาเล่นๆ เฮฮาๆ แล้วกลับบ้าน เราไม่ใช่บอร์ดเกมคาเฟ่ เราทุกคนมา “ทำงาน” ที่นี่คือ “ออฟฟิศ” เราคิดว่า Culture ในแบบที่เราทำมาถึงทุกวันนี้ ถึงจะสุดโต่ง แต่เป็นเวย์ที่ดีไม่น้อย อาจจะวัดได้จากเกือบ 5 ปีที่ผ่านมา turnover rate เราต่ำมากๆ มีคนลาออกไปประมาณแค่ 5 คนได้ แต่ Culture ในฝันที่เราอยากไปถึงและยังไม่ถึง มันไม่ใช่แค่ How we live แต่มันคือ How we work เสียมากกว่า …สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทางเรายังพยายามพัฒนากันอยู่ อันที่จริงเวลาบริษัทต่างๆ ออกมาแชร์เรื่อง How we work มักจะพูดกันในเรื่องสนุกๆ อย่างที่ผมพูดนั่นแหละ มันยากที่จะเล่าและถ่ายทอดส่วนดีเทลในการทำงานจริง ทั้ง Process ต่างๆ การแก้ปัญหา การสื่อสารระหว่างทีม การวัดผล การรีพอร์ท …สิ่งเหล่านี้มันเป็นสิ่งสำคัญทั้งนั้น และไม่ง่ายเลยที่จะทำให้ดี ยิ่งหากเราให้ทำงานอิสระดูแลตัวเองกันแบบสุดโต่งอย่างที่เราทำ ความชัดเจนในความรับผิดชอบ flow และ process งาน รวมถึงเป้าหมายและการวัดผลมันยิ่งต้องชัดเจน …ไม่อย่างนั้นคนทำงานก็จะ lost ว่าฉันต้องเดินต่อไปอย่างไร เราเจอปัญหานี้กันมาแล้ว ทุกวันนี้ก็ยังแก้ไม่เรียบร้อย >< ภาพของ Culture ในฝันที่เราอยากเห็นคือ ทุกคนมาทำงานโดยเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และความสำคัญของงานตัวเองอย่างถ่องแท้ และมันควรจะต้องช่วยสร้าง environmant ที่ส่งเสริมให้คนได้พัฒนาทั้งในด้านอาชีพและในฐานะมนุษย์คนหนึ่งไปพร้อมๆ กันอีกด้วย สำคัญที่สุดคือมันต้องเกื้อหนุนทำให้เกิด Psychological safety กับเพื่อนร่วมงาน สบายใจที่ทำงานด้วยกัน มีปัญหาอะไร คุยกันได้ตรงๆ รู้สึกปลอดภัยที่จะถามคำถามโง่ๆ ปรึกษาเรื่องใดๆ และเตือนกันได้แบบไม่ต้องกลัวอะไร ฉะนั้นสรุปแล้วมันยังมีอีกหลายอย่างที่เราต้องเดินหน้าพัฒนาต่อ ซึ่งก็ไม่ได้คาดหวังให้ทุกคนอยู่กับบริษัทไปตลอดชีวิตหรอกนะ Culture ที่ดีมันคงไม่ได้วัดกันที่ว่าทำให้คนอยู่ด้วยกันได้นานแค่ไหนด้วยซ้ำ วันหนึ่งต่างคนอาจจะต้องแยกทาง จะเรียนต่อ จะกลับไปทำที่บ้าน หรือจะไปเริ่มต้นอะไรของตัวเอง ฉะนั้นในช่วงเวลาที่เราอยู่ด้วยกัน เราควรจะสร้างประโยชน์ด้วยกันให้ได้มากที่สุด คุณได้พัฒนาตัวเอง ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ สนุกกับความท้าทายที่ได้รับมอบหมาย ได้ลองผิดลองถูก เรียนรู้ร่วมกัน บริษัทได้งานดีๆ จากคุณเพื่อช่วยให้เราเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งวันใดที่ปลายทางเราไม่ตรงกัน เราจะได้จากกันด้วยดี และหวังว่าที่นี่จะเป็นช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ที่พอทุกคนหันกลับมามอง… แล้วเราจะคิดถึงมัน นี่คือ Culture ในฝัน และวิถีการทำงานที่เราอยากให้เป็น : )) |