1. วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกบริษัท เพื่อวางแผนกลยุทธ์ กำหนดนโยบาย และแผนงานในการบริหารความเสี่ยง
2. จัดทำและทบทวนนโยบาย ระเบียบ และคู่มือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยง และจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้อง ประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนทั้งในภาวะปกติและ ภาวะวิกฤต
3. บริหารพอร์ตสินเชื่อของบริษัท จัดทำรายงานเชิงการบริหาร จัดทำนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
4. พัฒนาแบบจำลองและเครื่องมือการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อ (Risk Model) บริหารสินเชื่อ รวมถึงตรวจสอบการประเมินค่าความสูญเสียที่เกิดจากการให้สินเชื่อ (Default Risk Model)
5. พัฒนาเครื่องมือและระบบเตือนภัยความเสี่ยงด้านสินเชื่อ (Early Warning System)
6. ทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress test) เพื่อประเมินความเสียหายหรือผลกระทบต่อความมั่นคงของฐานะและการดำเนินการในด้านต่างๆ ของบริษัท
7. จัดทำกรอบการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมกำหนด Risk Appetite และ Risk Tolerance รวมถึงจัดทำ Portfolio View of Risk เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์และเป้าหมายของบริษัท
8. ติดตาม และรายงานความเสี่ยงในภาพรวมระดับองค์กร (Risk Analysis on The Aggregated Portfolio, Integration of All Type of Risk) รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงตนเอง (RCSA)
9. ทบทวนและตรวจสอบ (Assure) กระบวนการอนุมัติสินเชื่อ การจัด Rating คุณภาพการคัดเลือกและวิเคราะห์ลูกค้า และการทบทวนวงเงินสินเชื่อ เพื่อให้กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการพิจารณาสินเชื่อมีมาตรฐานและประสิทธิภาพ
10. กําหนดอํานาจอนุมัติสินเชื่อ ทบทวนอํานาจในการอนุมัติสินเชื่อ และธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยคํานึงถึงความเสี่ยงและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
11. ให้ความรู้ และเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำด้านบริหารความเสี่ยงกับหน่วยงานต่างๆ ภายในบริษัท เพื่อสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธฺภาพในทุกหน่วยงาน