Marketing Officer Bancassurance (เจ้าหน้าที่การตลาดผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประจำสาขา)
ประจำสาขาพื้นที่ต่างจังหวัด (สมุทรปราการ , สมุทรสาคร , นครปฐม , ประจวบคีรีขันธ์ ,เพชรบุรี , อยุธยา , สระบุรี , นครสวรรค์ , สุพรรณบุรี , เชียงใหม่ , แพร่ , ชลบุรี , ระยอง , จันทบุรี , ฉะเชิงเทรา, สงขลา, นครศรีธรรมราช)
หน้าที่และความรับผิดชอบ
4.5
ธนาคารกรุงเทพมุ่งหมายที่จะเป็นธนาคารที่ให้บริการด้านการเงินที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีความพร้อมด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพ มีเทคโนโลยีและระบบงานที่ทันสมัย คงไว้ซึ่งความเป็นสากล ตลอดจนการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเอเชีย
ธนาคารกรุงเทพได้รับการก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2487 และเจริญเติบโตจนเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในธนาคารระดับภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมูลค่าของสินทรัพย์รวมประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท โดยเป็นผู้นำในการสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจขนาดใหญ่และ เอสเอ็มอี อีกทั้งยังมีฐานลูกค้ากว้างขวางที่สุดในตลาดลูกค้าบุคคล ด้วยธนาคารกรุงเทพให้บริการแก่ลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจเป็นจำนวนรวมกว่า 17 ล้านบัญชีผ่านสำนักธุรกิจและสำนักธุรกิจย่อยกว่า 230 แห่ง และสาขาทั่วประเทศเกือบ 1,000 แห่ง และยังมีเครือข่ายธนาคารอัตโนมัติที่หลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยเครื่อง เอทีเอ็มและเครื่องรับฝากเงินสดอยู่ทั่วประเทศ บริการธนาคารทางโทรศัพท์และธนาคารทางอินเทอร์เน็ตที่ใช้ง่ายและลูกค้าสามารถเลือกทำธุรกรรมในภาษาไทยหรืออังกฤษ ซึ่งเอื้ออำนวยให้ลูกค้าสามารถจัดการเรื่องการเงินได้อย่างรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ ธนาคารกรุงเทพยังเป็นธนาคารไทยเพียงแห่งเดียวที่มีเครือข่ายต่างประเทศกว้างขวางที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน ซึ่งธนาคารมีสาขาอยู่ทั้งที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เซี่ยะเหมิน และเสิ่นเจิ้น
เครือข่ายสาขาในต่างประเทศของธนาคารกรุงเทพครอบคลุม 13 เขตเศรษฐกิจ
สำคัญของโลก ได้แก่ จีน ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์
มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว และ พม่า
ซึ่งประกอบด้วยสาขาต่างประเทศ 25 แห่ง สำนักงานตัวแทน 1 แห่ง และธนาคารในเครือที่ธนาคารกรุงเทพ ถือหุ้นทั้งหมด 2 แห่ง คือ Bangkok Bank Berhad (BBB) ในประเทศมาเลเซีย และ Bangkok Bank (China) Company Limited (BBC) ในประเทศจีน
ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการอย่างครบวงจร ซึ่งประกอบด้วย การจัดการสินเชื่อร่วม การรับประกันการจัดจำหน่ายตราสารทุน สินเชื่อเพื่อการค้าระหว่างประเทศ สินเชื่อโครงการ บริการรับฝาก หลักทรัพย์ สินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอี บริการการเงินธนกิจ และบริการให้คำแนะนำทางธุรกิจ
การที่ธนาคารกรุงเทพยังคงเป็นผู้นำในภาคการธนาคารไทยมาโดยตลอดนั้น เป็นผลมาจากปรัชญาของธนาคารที่มุ่งเน้นการพัฒนาสายสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อ เกื้อหนุนซึ่งกันและกันอย่างยืนยาว นอกจากนี้ การประสานศักยภาพภายในองค์กรระหว่างหน่วยธุรกิจต่างๆ ทั้งด้านลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ ด้านการเงินธนกิจ กิจการธนาคารต่างประเทศ ด้านลูกค้าธุรกิจรายกลางและรายปลีก และด้านลูกค้าบุคคล เอื้ออำนวยให้ธนาคารสามารถสร้างสรรค์บริการเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะเจาะจงของลูกค้า โดยมีทั้งความหลากหลายและมิติใน เชิงลึก นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือธนาคาร ยังมีบทบาทสำคัญที่สนับสนุนธนาคารในการสร้างสรรค์โอกาสเพื่อการลงทุนใหม่ๆ เพื่อนำเสนอต่อลูกค้าของธนาคารกรุงเทพโดยเฉพาะ
การปรับตัวสู่ความเป็นดิจิทัลของธนาคารกรุงเทพ เพื่อจูงใจ Tech People มาร่วมงาน
การเปลี่ยนแปลงสำคัญในอุตสาหกรรมธนาคารและการเงินในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกิดบริการใหม่ๆ ขึ้นจำนวนมาก ไม่ใช่แค่การนำเทคโนโลยีมาให้บริการลูกค้าเช่น การให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่ยังมีเรื่องของผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร แต่เป็น Start up/Fintech ที่เข้ามามีบทบาทและเป็นบริการทางเลือกที่ฉีกแนวออกไปให้ลูกค้า ธนาคารกรุงเทพรับรู้ความเปลี่ยนแปลงและเตรียมการปรับตัวทั้งในเชิงเทคโนโลยีและกระบวนการทำงานมาระยะหนึ่งแล้ว เป็นเหตุผลให้ธนาคารมองหานักพัฒนาและวิศวกรฝ่ายไอทีมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก
### การปรับตัวสู่ดิจิทัลที่ไม่ใช่แค่เทคโนโลยี
คุณสรกฤช พฤทธานนทชัย Senior Vice President, Channel Management System
เล่าให้ฟังการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งอุตสาหกรรมธนาคาร จากปัจจัยของผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ อย่างฟินเทค ที่มีต้นทุนต่ำกว่าและสร้างทางเลือกให้ลูกค้า และในเชิงนโยบายจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องการให้ธนาคารและองค์กรต่าง ๆ ผลักดันและร่วมกันสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ขึ้นมา ที่สำคัญคือพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนตามไปด้วย แน่นอนว่าธนาคารกรุงเทพก็ต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ในมุมมองของธนาคาร การเปลี่ยนแปลงมีทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะปลาย แตกต่างกันไป แต่หลัก ๆ ธนาคารมองว่าต้องเปลี่ยนแปลง 3 เรื่อง
เรื่องแรกเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นและเร็วมากขึ้นเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า
ถัดมาเป็นเรื่องของศักยภาพ ทั้งในแง่ความสามารถทางเทคนิคที่จะต้องคาดเดาความต้องการของลูกค้าให้ได้ เพราะในอุตสาหกรรมนี้ ธนาคารและผู้ให้บริการหลาย ๆ แห่ง ล้วนใช้เทคโนโลยีไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น
ผู้ให้บริการที่สามารถคาดเดาความต้องการลูกค้าและสร้างบริการที่ตอบสนองได้ก่อนก็จะได้เปรียบ
สุดท้ายคือเทคโนโลยีของธนาคารทั้งตัวเทคโนโลยีกลาง(Core Banking) โครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัย ที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์ทั้งในแง่ความปลอดภัย กฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยและมาตรฐานระดับนานาชาติ ซึ่งประเด็นนี้จะท้าทายมากที่สุดในการเปลี่ยนแปลง ทั้งในแง่การปรับโครงสร้างองค์กร มี Technical Debt ภายในที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านทั้ง 3 แนวทาง
คุณสรกฤชยอมรับว่า ธนาคารยังไม่สามารถทำได้พร้อมกันทั้งหมด บางอย่างยังอยู่ในขั้นทดลองเท่านั้น
แต่สิ่งที่สำคัญคือปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวตามแนวทางดังกล่าวได้
องค์ประกอบแรกคือการปรับปรุงทักษะของบุคลากรทั้งในแง่ Reskill & Upskill เพื่อรองรับเทคโนโลยีและงานใหม่ ๆ
ที่จะเพิ่มเข้ามา ถัดมาเป็นเรื่องของการปรับปรุง Framework ในการทำงานและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
สุดท้ายคือปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดความเป็น Silo ลงให้ได้น้อยที่สุดและเอารูปแบบการทำงานแบบ Agile/Cross-functional มาประยุกต์เท่าที่สมควร
คุณอรมณี ดิลกวณิชกุล
Head of User Experience
ทีม User Experience ของธนาคารกรุงเทพตั้งขึ้นมาได้ไม่นาน หน้าที่หลักคือรับ Requirement มาจากฝั่ง Business ที่มีโจทย์สำคัญคือการเสริมสร้างประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าธนาคาร ความท้าทายของงานสายนี้ไม่ใช่แค่การแปลง Requirement ดังกล่าว ให้ออกมาช่วยเสริมประสบการณ์ที่ดีน่าประทับใจในการใช้งานผลิตภัณฑ์ต่างๆของธนาคาร แต่ต้องผสานระหว่าง Requirement ดังกล่าวกับข้อจำกัดทางเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง ให้ออกมาตามที่ Business ต้องการและยังคงตอบโจทย์หลักคือการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าให้ได้
กระบวนการทำงานภายในทีมถ้าเป็นโปรเจ็คใหม่ๆ จะพยายามให้เป็น Agile มากที่สุด แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโปรเจ็คด้วย ซึ่งบางโปรเจ็คการทำงานแบบ Waterfall อาจจะเหมาะสมกว่า
สิ่งที่ประทับใจในการทำงานกับธนาคารกรุงเทพคือการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของพนักงาน
ธนาคารมีทุนการศึกษาต่อให้พนักงานทั้งการไปเรียนต่อ การเทรนนิ่งระยะสั้น การเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ ทำให้ได้เรียนในสิ่งที่สามารถนำไปต่อยอดกับงานได้ในอนาคต
คุณปุณยวีร์ ภู่ระหงษ์
Senior Data Scientist
หน้าที่หลักคือหาโอกาสในการสร้างใหม่ให้กับธนาคารพัฒนาระบบหรือ Feature ใหม่เพิ่มเติมจากของเดิมที่มีอยู่ กระบวนการทำงานจะรับเป็นโปรเจ็ค ทำงานร่วมกับฝ่ายอื่น เช่น สายธุรกิจและสายสนับสนุนที่สามารถจบงานได้ในตัว ทำให้ได้ความรู้ในด้านอื่นๆ ไปด้วยเช่นในแง่ธุรกิจหรือความรู้ด้านเทคนิค
สิ่งที่ประทับใจที่ธนาคารกรุงเทพคือผู้ใหญ่เปิดกว้าง ให้โอกาสแสดงความคิดเห็นและรับฟัง ที่สำคัญคือให้โอกาสคน เพราะตนเองได้ทุนของธนาคารไปเรียนต่อด้าน Business Analytics ที่ Warwick Business School, University of Warwick ประเทศอังกฤษ
คุณสุรพงษ์ ฉันทพัฒน์พงศ์
IT Security Specialist
ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของอุปกรณ์ปลายทาง (End-point) ที่มีอยู่ในธนาคารจำนวนมาก เป็นงานที่มีความท้าทายตรงที่ต้องอัพเดตความรู้ตัวเองตลอดเวลา เพราะทั้งภัยคุกคามและเครื่องมือสำหรับการรับมือภัยคุกคามด้านเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ความประทับใจของการร่วมงานกับธนาคารกรุงเทพคือ การเปิดโอกาสให้พนักงานได้พัฒนาตัวเอง มีช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย แม้บางเรื่องจะไม่ได้เกี่ยวกับงานโดยตรงก็ตาม อย่างเช่นการเปิดอบรมหรือ การทำ Workshop ต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาด้าน Soft Skill เป็นต้น
คุณวริทธิ์ ธโนปจัย
AVP ฝ่ายนวัตกรรม Bangkok Bank INNOHUB
หน้าที่หลัก ๆ คือค้นหา Technology & Solution ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจและตอบโจทย์หรือช่วยแก้ปัญหาให้กับฝั่งธุรกิจได้ ดังนั้นงานสายนี้ต้องรู้ทั้งในแง่เทคโนโลยีระดับหนึ่งและต้องเข้าใจธุรกิจของธนาคารด้วย
เป็นงานที่สร้างโอกาสเยอะมาก ทั้งในแง่การออกไปพบปะพูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยีต่างๆ การได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ทำงานกับหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ของธนาคาร แต่ความยากหรือความท้าทายของงานนี้คือเป็นตำแหน่งงานที่ต้องบุกเบิกอะไรใหม่ ๆ ให้กับธนาคาร และจะต้องเจอกับ Challenge ต่างๆ จากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและความต้องการของฝั่งธุรกิจ ดังนั้นคนที่จะเหมาะกับงานด้านนี้คือคนที่ขวนขวาย ชอบแก้ปัญหา มี Passion & Learning Agility กับการสร้างสิ่งใหม่ ๆ มีกำลังใจไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ โดยความคุ้มค่าหรือรางวัลของการทำงานนี้คือการได้เห็นโปรเจ็คที่เราเริ่มและผลักดันมาตั้งแต่ต้นออกมาประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาและช่วยพัฒนาธุรกิจของธนาคารให้ดียิ่งขึ้น
สิ่งที่ประทับใจคือความมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและเปิดโอกาสเต็มที่ ทั้งผู้บริหารของส่วนกลาง และผู้บริหารในหน่วยธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นภายนอกธนาคารเยอะ จากในประเทศและต่างประเทศ ได้เจอคนที่หลากหลาย