กลับ

เจ้าหน้าที่ธุรการ ฝ่ายการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดน

หอการค้าไทย
24/03/2024
รายละเอียดงาน
อ่านรีวิว
เกี่ยวกับบริษัท
24/03/2024
คุณสมบัติพื้นฐาน
งานประจำ
1 - 5 ปี
กรุงเทพและปริมณฑล
ปริญญาตรี
15,000 - 20,000 บาท/เดือน

หน้าที่และความรับผิดชอบ
  • 1. สนับสนุนการปฏิบัติงาน การจัดประชุมและการจัดกิจกรรมต่างๆ ของสายงานการค้าระหว่างประเทศ /การค้าชายแดนและการค้าข้ามแดน
  • 2. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานธุรการ งานสารบรรณ เอกสารการเบิกจ่ายที่เกี่ยวข้อง และดําเนินการเกี่ยวกับพัสดุครุภัณฑ์ของฝ่ายฯ
  • 3. ติดต่อประสานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของฝ่ายฯ
  • 4. รวบรวมข้อมูลหรือจัดเตรียมเอกสาร การเตรียมการประชุม ช่วยจัดเตรียมในเรื่องสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนช่วยติดต่อ อำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติ
  • วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี ขึ้นไป สาขา อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • หากมีคะแนน TOEIC 650 ขึ้นไป จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  • ประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้อง 1-3 ปี
  • มีความรู้ด้านงานธุรการ กระบวนงานจัดประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีทักษะด้านการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในระดับดี
  • มีความกระตือรือร้น สามารถทำงานเป็นทีมได้
  • มีทักษะการประสานงาน และมีทัศนคติที่ดี
  • มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐาน (Word, Excel, Powerpoint)

สวัสดิการ
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน
- ค่าทำงานล่วงเวลา
- ค่าทุนการศึกษา
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ประกันสังคม
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- เครื่องแบบพนักงาน, ชุดยูนิฟอร์ม
- โบนัสประจำปี

logoHR.png
รีวิวบริษัทที่บอก ‘ชีวิตดี งานดี เงินดี สังคมดี’
คะแนนรวมจากรีวิวของพนักงาน จาก 4 รีวิว
flower of heart

5.0

Dream Company
วิเศษสุด
4.4
4.5
3.7
4.2
ฟังเสียงจากพนักงาน

logourl
5.0
ไอที / คอมพิวเตอร์
>1 ปี, พนักงานปัจจุบัน
5.0
5.0
5.0
5.0
5.0
การลาพักร้อน
อนุมัติการลาง่ายที่สุด
สนับสนุนคุณภาพชีวิตพนักงาน
5/5
ส่งเสริมวิสัยทัศน์ รสนิยม
5/5
ชั่วโมงทำงานต่อวัน
8
ความท้าทาย
5/5
โอกาสสร้างผลงาน
5/5
ส่งเสริมความเป็นมืออาชีพ
5/5
ระบบบริหารจัดการทันสมัย
5/5
การขึ้นเงินเดือน
10%
โบนัสต่อปี
2
พอใจสวัสดิการ
5/5
ระดับรายได้
กลุ่มบริษัทที่จ่ายเงินเดือนสูง
สังคมดีในบริษัท
5/5
การเมือง
น้อยที่สุด
ความช่วยเหลือจากเพื่อนรวมงาน
5/5
การสอนงานและดูแลของหัวหน้า
5/5
22/12/2021
การลาพักร้อน
อนุมัติการลาง่ายที่สุด
สนับสนุนคุณภาพชีวิตพนักงาน
5/5
ส่งเสริมวิสัยทัศน์ รสนิยม
5/5
ชั่วโมงทำงานต่อวัน
8
ความท้าทาย
5/5
โอกาสสร้างผลงาน
5/5
ส่งเสริมความเป็นมืออาชีพ
5/5
ระบบบริหารจัดการทันสมัย
5/5
การขึ้นเงินเดือน
10%
โบนัสต่อปี
2
พอใจสวัสดิการ
5/5
ระดับรายได้
กลุ่มบริษัทที่จ่ายเงินเดือนสูง
22/12/2021
หอการค้าไทย
หอการค้าไทย
เกี่ยวกับบริษัท
หอการค้าไทย เริ่มถือกำเนิดขึ้นมาจากแนวความคิดของพ่อค้าชาวไทยกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของ นายเล็ก โกเมศ ได้มาร่วมประชุมปรึกษาหารือกันว่า ในต่างประเทศแทบทุกประเทศนั้นมีการจัดตั้งหอการค้าขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ที่อำนวยประโยชน์ให้แก่พ่อค้า นักธุรกิจและประชาชนอย่างมากมาย สำหรับประเทศไทยนั้น ก็มีพ่อค้าชาวไทยอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย จึงมีความเป็นไปได้ที่ พ่อค้าชาวไทยจะเกิดการรวมตัวกันขึ้นเป็นปึกแผ่น โดยจัดตั้งเป็นองค์การกลางที่จะทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงให้กับพ่อค้า ในการดำเนินธุรกิจให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น รวมทั้งทำหน้าที่ประสานงานระหว่างภาครัฐกับพ่อค้าให้ติดต่อถึงกันได้โดยสะดวก ต่อมากลุ่มพ่อค้าในขณะนั้น ก็ได้ชักชวนเพื่อนฝูงในหมู่พ่อค้าด้วยกันมากขึ้นเรื่อย ๆ
   
จนกระทั่งเกิดเป็นการประชุมขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2475 ณ บ้านของนาย เล็ก โกเมศ ตำบลตรอกกัปตันบุช ซึ่งการประชุมในครั้งแรกนั้น นอกจากจะตกลงกันในเรื่องการจัดตั้งหอการค้าแล้ว ยังได้กำหนดการเรียกชื่อหอการค้าไทยเป็นภาษาอังกฤษว่า Siamese Chamber of Commerce
         
ในขณะนั้น ยังไม่ได้กำหนดชื่อเป็นภาษาไทย เนื่องจากอาจจะยังหาคำที่เหมาะสมไม่ได้การประชุมในครั้งต่อมา ได้มีการถกเถียงในเรื่องชื่อภาษาไทยเป็นอย่างมาก โดย ดร.โชติ คุ้มพันธ์ เสนอว่าควรใช้ชื่อ " สภาพาณิชย์การแห่งสยาม" โดยมีความมุ่งหมายให้เป็นสภาที่ขอร้องต่อรัฐบาลให้ออกกฎหมายควบคุมการค้า และออกกฎหมายควบคุมร้านค้าให้เสียค่าบำรุง
 
แต่มีผู้คัดค้านว่าคำว่า สภา นั้น ดูจะใหญ่โตเกินความสามารถไป ควรจะตั้งในรูปของสโมสรหรือสมาคมไว้ก่อน เมื่อการดำเนินงานต่าง ๆ เจริญขึ้นแล้ว จึงค่อยขยับขยายเป็นสภาในภายหลัง นอกจากนั้นแล้ว ยังมีผู้ที่เสนอชื่ออื่นอีกเช่น สภาการค้า สภาพ่อค้าไทย หรือ หอการค้า เป็นต้น
 
การประชุมถกเถียงกันในเรื่องของชื่อนั้นมีอยู่หลายครั้ง จนในที่สุดประธานของที่ประชุมชั่วคราวคือ พระยาภิรมย์ภักดี ต้องไปเฝ้าพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ และหม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ ซึ่งท่านทั้งสองได้ประทานชื่อว่า สภาคารการค้า จากนั้น ที่ประชุมจึงได้มอบให้พระยาภิรมย์ภักดี พระชัยสิทธิเวช หลวงนรเสรษฐสนิท และขุนเลิศดำริห์การเป็นผู้ไปจดทะเบียนก่อตั้งเป็นสมาคม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2476 ซึ่งการจดทะเบียนในครั้งนั้นปรากฏว่า รัฐบาลได้สงวนคำว่า " สภา" เอาไว้สำหรับองค์การของรัฐโดยเฉพาะ
 
ดังนั้นท่านที่ไปจดทะเบียนจึงใช้คำว่า หอการค้า แทน โดยสำนักงานหอการค้าแห่งแรกตั้งอยู่ ณ ตึกในตรอกกัปตันบุช ถนนสี่พระยาโดยมีพระยาภิรมย์ภักดี เป็นประธานฯคนแรกของหอการค้าไทย หลังจากนั้น หอการค้าไทยก็ย้ายไปอยู่ ณ ตึกเช่าของพระคลัง ถนนพระราม 1 

จนภายหลังหอการค้าไทยเริ่มประสบปัญหา ขุนเลิศดำริห์การ ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขานุการหอการค้าไทย ได้มีดำริให้ย้ายสำนักงานหอการค้าไทย ไปไว้ ณ ที่ทำการของท่าน บนตึกชั้นของห้างจาตุรงค์อาภรณ์ ตำบลสามยอด และได้ย้ายที่ทำการอีกหลายครั้ง เช่น ตึกชั้นบนของห้างศิรินคร ตำบลบางลำภู ตึกชั้นล่างของสยามโฮเต็ล ตึกชั้น 3ของห้าง ไอ.อี.ซี. สี่แยก เอส.เอ. บี.และตึกพาณิชย์ภัณฑ์ สนามเสือป่าตามลำดับ
 
เมื่ออยู่ที่ตึกพาณิชย์ภัณฑ์ คณะกรรมการต้องทำงานอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานฉลองรัฐธรรมนูญ ประจำปี ซึ่งหอการค้าไทยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ออกร้านแผนกสินค้าไทย สนับสนุนพ่อค้าไทยและสินค้าที่ผลิตในเมืองไทย มีการเชิญชวนพ่อค้าไทยที่ผลิตสินค้าไทย นำสินค้าของตนมาแสดงในงานโดยภายในงานดังกล่าว หอการค้าไทยได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ จัดการมอบเหรียญและถ้วยรางวัลเพื่อเป็นเกียรติแก่สินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นหน้าที่โดยตรงของหอการค้าไทยในการสนับสนุนพ่อค้าไทย

ในช่วงเวลานั้น หอการค้าไทยดีขึ้นทั้งการเงินและเกียรติ มีทั้งสมาชิกทั้งเก่าและใหม่มาร่วมกันอย่างเต็มที่ รวมทั้งได้มีการต้อนรับแขกจากต่างประเทศที่สนใจอยู่เสมอ นอกจากนั้น ยังได้มีการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ด้วยการจัดตั้ง " วิทยาลัยการค้า" ขึ้น (มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในปัจจุบัน) เพื่อสอนให้อนุชนได้สนใจและส่งเสริมให้มีความรู้ในด้านการค้า โดยวิทยาลัยการค้านี้ อยู่ในความดูแลของ นายวิรัช พึ่งสุนทร ซึ่งเป็นตัวแทนของหอการค้าไทย มีนักเรียนเข้าเรียนกว่า300 คน มีหลักสูตร 3 ปี แต่เรียนได้ปีกว่าก็เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา วิทยาลัยจึงต้องยุบเลิก และตัวตึกถูกเอาคืนไปเป็นตึกประสานงานระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ส่วนเก้าอี้และโต๊ะเรียนถูกนำไปเป็นฟืนหุงข้าวหมด จนกระทั่งในปี 2506 จึงได้เปิดการเรียนการสอนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
 
ต่อมา หอการค้าไทยได้ย้ายมาอยู่ ณ ตึกถนนราชบพิธ ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์สมัยนั้นได้มีดำริว่าเพื่อให้การดำเนินงานของหอการค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเห็นสมควรให้นำ " หอการค้า" มาไว้ในความอุปการะ

หอการค้าไทย
ที่อยู่
150 Rajbopit Road, Wat Ratchabopit, Pranakorn, Bangkok 10200
ชื่อผู้ติดต่อ
Human Resources Department
โทรศัพท์
0-2018-6888 ext 3220,5660 Fax 0-2622-1879,0-2225-3372
เว็ปไซต์
แบ่งปัน