เจ้าหน้าที่มาตรฐานเกษตรดอยคำ (ประสานงาน)
บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งวัน เวลาที่จะเข้าตรวจ ตลอดจนขอเอกสารที่เกี่ยวข้องในการตรวจ
- ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และจัดทำแบบรายการ (Check list) ที่จะทำการตรวจสอบ
- บันทึกข้อมูลที่ตรวจสอบ และหลักฐานที่ตรวจพบระหว่างทำการตรวจสอบ
- แจ้งผลการตรวจสอบ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุง หรือพัฒนาระบบการทำงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- จัดทำรายงานสรุปผลการตรวจมาตรฐานเกษตร
- ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายและงานภายใต้ข้อกำหนดกฎหมาย รวมถึงระบบมาตรฐานสากลที่บริษัทประยุกต์ใช้
- ระดับการศึกษา : ปริญญาตรีขึ้นไป สาขาวิชา เกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ พืชสวน พืชไร่ อารักขาพืช)
- ประสบการณ์การด้านมาตรฐาน : จำนวน 1 ปี
- ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ : Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft PowerPoint
- คุณสมบัติอื่นๆ : ผ่านการตรวจและฝึกอบรมมาตรฐานระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน
- ค่าทำงานล่วงเวลา
- ค่าทุนการศึกษา
- ค่ายินดีมงคลสมรส
- ค่าอนุโมทนาอุปสมบท
- ค่าเบี้ยเลี้ยง
- ค่าเล่าเรียนบุตร
- งานเลี้ยงสังสรรค์และการท่องเที่ยวประจำปี
- ตรวจสุขภาพประจำปี
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ทุนการศึกษาพนักงาน
- ประกันชีวิต
- ประกันสังคม
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- ลาบวช
- สหกรณ์ออมทรัพย์
- สิทธิวันลาต่างๆ อาทิ ลาป่วย 30 วัน/ปี ลากิจ 7 วัน/ปี ลาพักร้อน 7-10 วัน/ปี ลาปฏิบัติธรรม 3 วัน/ปี ลาวันเกิด ลาฌาปณกิจ 3 วัน
- เงินช่วยเหลือฌาปนกิจ
- โบนัสตามผลงาน/ผลประกอบการ
กำเนิดดอยคำ
“ดอยคำ” เกษตรเพื่อชุมชน ผลิตผลเพื่อคนไทย ด้วยพระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่กว้างไกลและลึกซึ้ง ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและทุกข์ยากของราษฎร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ พระองค์ทอดพระเนตรความทุกข์ยากลำบากของราษฎร และปัญหาการปลูกฝิ่น อันเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่น และการทำไร่เลื่อนลอย โดยมีวัตถุประสงค์ให้ส่งเสริมการปลูกพืชผัก ผลไม้ หลากหลายชนิดทดแทน แต่เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการส่งเสริม อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองและแหล่งรับซื้อ จึงเกิดปัญหาการถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา ประกอบกับในบางช่วงฤดูจะมีผลผลิตที่ล้นตลาด หรือบางครั้งอาจไม่ได้ขนาดที่เหมาะสมสำหรับการจำหน่ายผลสด
ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “สหกรณ์ชาวเขา” และ “โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป” แห่งแรกขึ้น เพื่อช่วยเหลือด้านการรับซื้อผลผลิตจากพืชที่ส่งเสริมในราคาเป็นธรรม โดยนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในเครื่องหมายการค้า “ดอยคำ” เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการจัดหาช่องทางกระจายสินค้าสู่ตลาด รวมถึงจัดให้มีการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตามแนวพระราชดำริ “อุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการพัฒนาชนบท” ในเวลาต่อมา โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ถือกำเนิดขึ้นอีก ๓ แห่ง ด้วยวัตถุประสงค์ที่ใกล้เคียงกัน
โรงงานหลวงฯ เพื่ออุตสาหกรรมการเกษตรของบริษัทฯ ในแต่ละแห่ง ได้ถูกออกแบบตามภูมิสังคม เพื่อให้กลมกลืน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละพื้นที่ และดำเนินการตามวัตถุประสงค์ขององค์กรในการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมด้านเกษตรกรรม รวมทั้งยังพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อความอยู่ดี กินดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ดังคำขวัญที่ว่า “โรงงานหลวงฯ เพื่อปวงชน”
ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชกระแสให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ รับช่วงดำเนินกิจการโรงงานหลวงฯ ต่อจากมูลนิธิโครงการหลวง โดยจัดตั้งเป็นนิติบุคคลภายใต้ชื่อ “บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด” เพื่vดำเนินกิจการในรูปแบบ ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) บริษัทฯ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการสร้างสุขให้สังคมด้วยการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน
ปัจจุบัน บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ดำเนินงานผ่านโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปทั้ง ๓ แห่ง ได้แก่
โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จ.เชียงใหม่
โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๒ (แม่จัน) จ.เชียงราย
โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๓ (เต่างอย) จ.สกลนคร
เพื่อดำเนินการส่งเสริม รับซื้อ พัฒนา และแปรรูปผลผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพระดับพรีเมียมในราคาที่จับต้องได้ ภายใต้ตราสัญลักษณ์ “ดอยคำ” ผู้นำธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ และอาหารแปรรูปเพื่อสังคม