งานสายกฎหมายสุดท้าทาย อยากทำได้ต้องรู้อะไรบ้าง

         ก่อนอื่นต้องบอกว่างานสายกฎหมาย ในความคิดของใครหลายๆคนอาจจะเข้าใจผิดว่าจบนิติศาสตร์ไปแล้วจะสามารถทำได้เพียงแค่ทนายความ หรือผู้พิพากษาอย่างเดียวเท่านั้น จริงๆแล้วนั้น การต่อยอดของสายงานกฎหมายนั้นสามารถต่อยอดไปได้ไกลกว่าที่คิด เพราะคนที่เรียนมาทางสายนี้ ส่วนมากวิธีคิดมักจะมีหลักการและเหตุผลกำกับอยู่เสมอ ความรู้ในสายนี้

จึงสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างไม่สิ้นสุด และสายงานต่างๆนั้น นอกจากทนายความและผู้พิพากษาแล้วนั้น ยังสามารถเป็นผู้ปรึกษาทางกฎหมาย ผู้พิพากษา นิติกร พนักงานอัยการ งานราชการ งานธนาคาร หรืออาจารย์พิเศษเฉพาะทางก็ยังได้ ใครที่เพิ่งจบใหม่หรือบุคคลที่สนใจอยากทำงานด้านกฎหมายให้เก่งจนใครๆหาจับตัวได้ยากต้องทำอย่างไร บทความนี้รวมคลังความรู้จากคนที่ทำงานสายกฎหมายมากประสบการณ์มาไว้ให้เพื่อนๆได้ต่อยอดแล้วค่ะ

ความคิดเห็นจากผู้ที่ทำงานในสายงาน “กฎหมาย”

คำถาม : งานที่ทำเป็นอย่างไร?

  • การเตรียมแผนงานเพื่อการบริหารหนี้ให้เ็ป็นไปตามเป้า การการกำหนดกฎระเบียบ และหลักการปฎิบัติเพื่อบริหารความเสี่ยงสำหรับองค์กร
  • การบริหารคดี และการว่าความแก้ต่างคดี และ ดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้การบังคับชำระหนี้เป็นไปตามเป้าหมาย
  • การเข้าตรวจค้นสถานะทางธุรกิจ เพื่อการเข้าซื้อกิจการ ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมาย หรือ Legal Due Diligence
  • การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อพัฒนาโครงการ เพื่อขอรับใบอนุญาตต่างๆ และเพื่อให้การพัฒนาโครงการสำเร็จลุล่วง
  • ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายทุกประเภททั้งความแพ่งและความอาญารวมถึงการฟ้องร้องและการให้การต่อสู้คดี ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น การออกหนังสือทวงถามหนี้สินที่ค้างชำระ การสอบข้อเท็จจริงโดยละเอียดเกี่ยวกับมูลเหตุในคดีการร่างฟ้องคดี การช่วยเหลือต่อสู้คดีกรณีที่ลูกความถูกฟ้องร้องดำเนินคดี การเดินทางไปสอบข้อเท็จจริงในที่เกิดเหตุ การหาข้อมูลเกี่ยวกับคดีจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯลฯ
  • ฟ้องคดี ว่าความในศาล ลูกค้าผิดนัดผิดสัญญาต่างๆ ต้องฟ้องเพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลจนถึงการตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำถาม : เสน่ห์ของสายอาชีพ?

  • รู้สึกมีความสุขที่สามารถแก้ไขปัญหาของคนอื่นได้
  • องค์กรนั้นทำธุรกิจที่น่าสนใจหรือไม่ หากน่าสนใจก็จะทำให้อาชีพนี้ สนุก และ มีสีสันในการทำงานมาก
  • ได้ใช้ความคิด ตรงกับที่เรียน และมีความยุติธรรม
  • เป็นวิชาชีพเข้าไปเกี่ยวข้องกับบุคคลทุกสาขาอาชีพ
  • เป็นงานที่มีเกียรติ การรู้กฎหมายทำให้การดำเนินชีวิตง่ายขึ้น เพราะกฎหมายนั้นแทรกซึมอยู่ในทุกๆ กิจกรรม

คำถาม : ข้อดีของสายอาชีพ?

  • ได้รับการยกย่องในความสำเร็จของงาน หรือเป็นที่พึ่งของสังคม 
  • เมื่อถึงระดับหนึ่ง จะมีความมั่นคงทางอาชีพมาก เพราะองค์กรเห็นความสำคัญ ดังนั้น เมื่อถึงเวลาเกษียณอายุ ในบางองค์กรก็จะยังคงจ้างให้ทำงานต่อ ทั้งนี้เพราะ ประสบการณ์
  • เป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไปเพราะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีคุณธรรม
  • สามารถใช้ความรู้ที่มีทำงานและมีการเรียนรู้ที่ไม่จบ
  • เป็นสายที่มีความสำคัญโดยต้องแทรกอยู่ในทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือราชการ

คำถาม : ข้อเสียของสายอาชีพ?

  • เป็นงานที่เหนื่อยและต้องทุ่มเทกับการศึกษาหาความรู้ และการทำวิจัยตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะ ในธุรกิจมีความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง
  • ต้องใช้เวลาในการสร้างความเชื่อมั่นที่บุคคลอื่นจะมีให้แก่ตนนาน ทั้งนี้เพราะ เป็นอาชีพที่มีผู้เรียนจบเยอะ และในประเทศไทยก็มีหลายสถาบัน
  • มีช่องว่างในการกระทำการโดยทุจริตได้ง่าย
  • มีความเสี่ยงที่งานจะผิดพลาดสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนับกำหนดระยะเวลาของศาล และการทำเอกสารต่างๆ

คำถาม : ความรู้ที่ต้องใช้?

  • ต้องเข้าใจในหลักกฎหมาย ใช้ภาษาไทย และอังกฤษได้ดี มีความคิดเป็นระบบ
  • ควรได้รับปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์
  • ควรเพิ่มคุณวุฒิทางการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในต่างประเทศ
  • กฎหมายและบัญชีหรือเศรษฐศาสตร์
  • กฎหมาย ข่าวสาร การเมือง เข้าใจการค้า และมีจิตวิทยาทีดี

คำถาม : ทักษะความสามารถที่ควรมีในสายงานนี้?

1.ซื่อสัตย์สุจริต
2.เก่งในการจับประเด็นปัญหา
3.ฉลาดมีไหวพริบ
4.มีความรับผิดชอบสูง
5. เชี่ยวชาญในสายงานของตน
6.คิดอย่างมีหลักการ
7.ทำงานภายใต้ความกดดันได้ดี
8.รักความยุติธรรม
9.กระตือรือร้น
10.กล้าตัดสินใจ

หางาน ที่ปรึกษากฎหมาย หางาน นักกฎหมาย/ที่ปรึกษา/ทนายความ หางาน เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย

สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..