“เชฟ”อาชีพในฝันของคนรักในการทำอาหาร

          ทุกท่านเคยสงสัยกันบ้างไหมว่าคนที่ถูกเรียกว่า “เชฟ” นั้นแท้จริงแล้วมีหน้าที่อะไรกันแน่ แล้วใครบ้างที่สามารถเป็นเชฟได้บ้าง ? เพราะในทุกวันนี้มองไปทางไหนก็เหมือนจะเห็นใครต่อหลายคนที่ทำอาหารได้ดี หรือมีชื่อเสียงก็มักเรียกตัวเองว่าเชฟแทบทั้งสิ้น เพราะแบบนั้นเชฟจึงเป็นแค่คนที่มีหน้าปรุงอาหารให้ออกมาดูดี และมีรสชาติอร่อยก็พอแล้วหรือเปล่า ? สำหรับใครที่ยังมีข้อสงสัยก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะวันนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่าแท้จริงแล้วเชฟนั้นคืออะไรกันแน่ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปกันเลย

          ปกติแล้วนอกจากคำว่า “เชฟ” แล้วยังมีอีกคำที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ในวงการอาหาร ก็คือคำว่า “กุ๊ก” ซึ่ง หลายคนอาจไม่เข้าใจว่าสองคำนี้นั้นมีความหมายที่ไม่เหมือนกัน และแน่นอนว่าหน้าที่ของทั้งสองคำนี้ก็แตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้ว กุ๊ก (Cook) คือผู้ที่มีหน้าที่ทำอาหารในร้านอาหาร หรือโรงแรม ดังนั้นหากมีใจรักในอาหาร หรือมีความสามารถในการทำอาหารก็สามารถเป็นกุ๊กได้แล้วนั่นเอง ซึ่งจะแตกต่างจาก เชฟ (Chef) ที่จะมีหน้าที่เป็นคนที่คอยควบคุมดูแลกุ๊ก หรือผู้ที่ปรุงอาหารโดยตรงอีกทีหนึ่ง

          คำว่า เชฟ (Chef) นั้นเป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศสที่ย่อมาจากคำว่า Chef de cuisine ซึ่งหมายถึง “หัวหน้าพ่อครัว” มีหน้าที่หลัก ๆ คือคิดสูตรอาหาร และคอยควบคุมดูแลการปรุงอาหารของกุ๊กอีกทีหนึ่งให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ ตลอดไปจนถึงการเลือกพนักงานในครัว การตรวจสอบความสะอาดและสุขอนามัยภายในครัวด้วย ด้วยความรับผิดชอบที่มากมายนี้เอง จึงทำให้ค่าตอบแทนของเชฟนั้นสูงมากเป็นเงาตามตัว ดังนั้นอาชีพเชฟจึงเป็นอาชีพในฝันของคนที่มีใจรักในการทำอาหารหลาย ๆ คน  

          ในสายงานของเชฟตามภัตตาคาร หรือโรงแรมใหญ่ ๆ นั้นไม่ได้มีแค่ตำแหน่งของเชฟไม่ได้มีเพียงตำแหน่งเดียวแต่จะถูกแบ่งออกเป็นตำแหน่งต่าง ๆ ตามหน้าที่และความรับผิดชอบอีกที แบ่งได้เป็นดังต่อไปนี้

          1. Commis Chef เรียกได้ว่าเป็นตำแหน่งเริ่มแรกของสายงานเชฟ มีหน้าที่หลัก ๆ คือคอยเตรีมของ หรือหยิบจับอุปกรณ์ ไปจนถึงเตรียมวัตถุดิบต่าง ๆ ตำแหน่งนี้ยังไม่ต้องการความชำนาญเป็นพิเศษ

          2. Demi Chef คือรองหัวหน้าเชฟ โดยที่ในแต่ละแผนกอาจมีรองหัวหน้าเชฟได้หลายคน

          3. Chef de Partie หรือ Section Chef ค่อนข้างเป็นตำแหน่งเฉพาะทาง เพราะส่วนมากจะเป็นตำแหน่งที่มักมีในห้องอาหารหรือตามภัตตาคารขนาดใหญ่ที่ต้องการคนดูแลรับผิดชอบแผนกย่อย ๆ ลงไปอีก เช่นแผนกเตรียมผัก แผนกอบขนม เป็นต้น

          4. Second Chef หรือ Sous Chef เป็นตำแหน่งรองลงมาจากหัวหน้าเชฟ มีหน้าที่หลักคือเป็นคอยเป็นผู้ช่วยเชฟใหญ่ในการทำงาน อาจจะรับผิดชอบเป็นแผนก ๆ ไป

          5. Head Chef หรือ Executive Chef หรือกคือหัวหน้าเชฟ มีหน้าที่หลักคือควบคุมดูแลความเรียบร้อยของการทำอาหาร ไปจนถึงการออกอาหาร รวมถึงการทำงานของทุกคนในครัว

          6. Chef Copperplate ตำแหน่งนี้ค่อนข้างพิเศษ เพราะมีหน้าที่ดูแลโรงแรมหรือร้านอาหารที่มีหลาย ๆ สาขา บางร้านอาจมีสาขาอยู่ทั่วโลก ซึ่งก็จะต้องดูและรักษามาตรฐานของรสชาติและรูปแบบของร้านเอาไว้ในได้มาตรฐานเดียวกันในทุก ๆ สาขา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความใหญ่ขององค์กร

          สรุปแล้วก็คือการที่จะเป็นเชฟได้นั้น ไม่ใช่ว่าแค่มีใจรักในการทำอาหาร หรือว่าแค่ทำอาหารให้อร่อยก็สามารถจะเป็นได้ แต่ยังต้องมีความรู้ในอาหาร และวัตถุดิบต่าง ๆ คอยตรวจสอบความสะอาด และสุขอนามัยภายในครัวอยู่เสมอ แถมยังต้องจัดสรรเวลาให้ได้ และรับมือกับแรงกดดันได้ดีและมีความอดทน นอกจากนี้ยังต้องมีความรับผิดชอบที่สูงมาก เพราะต้องคอยบริหารจัดการแทบทุกเรื่องในครัวอีกด้วย

สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..