ส่อง 5 ข้อสังเกต เพื่อนร่วมงานแบบไหนที่ควรเลี่ยง

             ใครว่างานหนักเท่านั้นที่ทำให้คนลาออก แต่อันที่จริงแล้วปัญหาความสัมพันธ์กับ “เพื่อนร่วมงาน” ก็เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของเหล่าคนทำงานซึ่งไม่เพียงก่อให้เกิดความขัดแย้งในองค์กรและส่งผลกระทบต่อการทำงาน แต่ยังส่งเสียต่อสุขภาพจิตใจและร่างกายตามมาได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นหากกำลังจะเริ่มต้นชีวิตการทำงานหรือกำลังต้องปรับตัวกับการทำงานในองค์กรใหม่ ๆ ลองทำความเข้าใจและสังเกตเพื่อนร่วมงานหลากหลายรูปแบบ แล้วเตรียม
หลีกเลี่ยงหรือหาวิธีรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ชีวิตการทำงานในทุก ๆ วันของเราเป็นไปอย่างมีความสุขให้มากที่สุด

รวม 5 วิธีสังเกตเพื่อนร่วมงานที่ควรหลีกเลี่ยง

เพื่อนร่วมงานแบบไหนที่ควรเลี่ยง

เพื่อนร่วมงานแบบนี้ จงหนีให้ห่าง! “5 เพื่อนร่วมงานแบบไหนที่ควรเลี่ยง”

             𑇐  เพื่อนร่วมงานนักแทงข้างหลัง จอมโจรขโมยเครดิต

             ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากมีเพื่อนร่วมงานที่พร้อมจะแทงข้างหลัง หน้าไหว้หลังหลอก และเป็นจอมโจรที่ชอบขโมยเครดิตของคนอื่น ต่อหน้าก็พูดคุยดี แต่ลับหลังกลับนำเราไปพูดใส่สี
ตีไข่ พูดง่าย ๆ ว่า เอาดีเขาตัว เอาชั่วให้คนอื่นนั่นเอง หรือเราต้องเหนื่อยยากทำงานให้ออกมาดีแทบตาย แต่สุดท้ายโดน (เพื่อน) ทรยศ แย่งเครดิตกันไปดื้อ ๆ เพื่อเอาไปเป็นความดีความชอบของตัวเองแทน

             𑇐  เพื่อนร่วมงานขี้เมาท์ สายนินทา

             แม้จะดูเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับความสัมพันธ์ของคนหมู่มากที่ต้องพบปะสนทนากันตลอดเวลา แต่เพื่อนร่วมงานขี้เมาท์และชอบนินทาว่าร้ายก็เป็นหนึ่งในคนประเภทที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะไม่แน่ว่าวันหนึ่งวันใด ตัวเราเองอาจกลายเป็นหัวข้อสนทนาของคนเหล่านี้ ที่พร้อมจะแพร่กระจายข่าวลือและข้อมูลผิด ๆ ไปสู่วงกว้างและก่อความเสียหายให้เราได้เช่นกัน

             𑇐  เพื่อนร่วมงานสายประจบประแจง เอาหน้า ขาเลีย

             เหล่าเพื่อนร่วมงานที่ชอบประจบประแจงหัวหน้าหรือเจ้านาย และพยายามเอาหน้า
เป็นขาเลียอยู่ตลอดเวลาก็เป็นหนึ่งในตัวร้ายที่สร้างปัญหาให้คนทำงานหลาย ๆ คน เพราะสายเลียแบบนี้มักมีความใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจมากกว่า และทำทุกทางให้ตัวเองได้รับผลประโยชน์มากที่สุด ซึ่งอาจพาเราเข้าสู่วังวนของความอิจฉาริษยา และบั่นทอนกำลังใจในการทำงานได้มากกว่าที่คิด

             𑇐  เพื่อนร่วมงานเผด็จการ ขี้โมโห เจ้าอารมณ์

             เพราะไม่ควรมีใครต้องมาคอยเป็นเครื่องมือรองรับอารมณ์ของคนอื่น เพื่อนร่วมงานที่มีนิสัยเผด็จการ ขี้โมโห เจ้าอารมณ์ ชอบตัดสิน โทษแต่คนอื่น และมองว่าความคิดของตัวเองดีที่สุดเป็นเหมือนเนื้อร้ายในที่ทำงานที่คอยกัดกร่อนและบั่นทอนความสุขของคนรอบข้างอยู่ตลอดเวลา

             𑇐  เพื่อนร่วมงานจอมขี้เกียจ ไม่รู้ ไม่สู้ ไม่เอา (งาน)

             คนขี้เกียจที่พร้อมผลักภาระหน้าที่ให้เพื่อนร่วมงาน หรือเอาแต่บ่ายเบี่ยง ไร้ความ
รับผิดชอบ มีอะไรก็ไม่รู้ ไม่สู้ ไม่เอา ไปเสียทุกอย่าง ทำงานเช้าชามเย็นชาม ไม่คิดปรับปรุงหรือกระตือรือล้น คนเหล่านี้จะบั่นทอนคนที่ตั้งใจทำงานให้กลายเป็นผู้ที่ต้องแบกภาระงานแทนจนกลายเป็นปัญหาที่ทำให้องค์กรนั้นอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพ

เพื่อนร่วมงานที่แย่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน

สู้เข้าสิ…หญิง! รวม 5 วิธีรับมือเพื่อนร่วมงานวายป่วง เพื่อชีวิตการทำงานที่ราบรื่น

             𑇐  หลีกเลี่ยงการพบปะสนทนาให้มากที่สุด

             การรับมือเพื่อนร่วมงานเป็นพิษที่เริ่มต้นง่ายที่สุดคือ การพยายามหลีกเลี่ยงการพบปะ พูดคุย สนทนากับคนเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด โดยอาจใช้วิธีประสานงานผ่านทางออนไลน์ หรือผ่านเพื่อนร่วมทีมคนอื่น ๆ ลองขีดเส้นแบ่ง เว้นระยะห่าง ลดการปะทะทางความคิดต่าง ๆ แต่ต้องแยกแยะเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวให้ดี เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานด้วยเช่นกัน

             𑇐  พยายามปล่อยวางและทำใจให้เป็นกลาง

             อาจจะดูโลกสวยไปบ้าง แต่การพยายามปล่อยวางและทำใจให้เป็นกลางนั้นก็เป็นอีกวิธีการรับมือกับสังคมการทำงานที่หลายคนมองข้าม ลองมองโลกในแง่บวกและปรับมุมมองในการทำงานใหม่ ทำความเข้าใจกับเพื่อนร่วมงานที่ย่อมมีความแตกต่างหลากหลาย หากเรื่องเล็ก ๆ จุกจิกกวนใจบางเรื่องไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่จนเกินไปก็ให้ลองมองข้าม ไม่เก็บเอามาคิด ใส่ใจ เพื่อให้สุขภาพจิตของเราไม่ถูกบั่นทอนมากขึ้น

             𑇐  เปิดใจพูดคุยแบบตรงไปตรงมา

             ในบางกรณีการเปิดใจพูดคุยบอกความรู้สึกไปตรง ๆ กับเพื่อนร่วมงานเหล่านั้นก็ช่วยแก้ไขปัญหาได้เหมือนกัน โดยเป็นการสร้างการรับรู้ รับทราบปัญหา และทำความเข้าใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย อีกทั้งยังเป็นการยืนยันความรู้สึกของเราที่มีต่อพฤติกรรมของเขาอย่างชัดเจน แต่ทั้งนี้ควรเป็นการพูดคุยแบบรักษาน้ำใจและสื่อสารด้วยความหวังดี เน้นย้ำถึงการแก้ไขปัญหาเพื่อการทำงานส่วนรวมมากกว่าเป็นเรื่องอคติส่วนตัว

             𑇐  ขอความช่วยเหลือจากหัวหน้า

             หากรู้สึกว่าปัญหาจากเพื่อนร่วมงานเริ่มเกินกำลังของเรา การขอความช่วยเหลือจากหัวหน้างานหรือผู้บริหารองค์กรก็เป็นอีกวิธีรับมือที่มีประสิทธิภาพ โดยอาจขอให้ผู้ที่มีอำนาจทำความเข้าใจ พิจารณา ตักเตือน ไกล่เกลี่ย และหาทางแก้ไขปัญหา เช่น ปรับเปลี่ยนทีมทำงาน หรือโยกย้ายตำแหน่งงาน เพื่อให้การทำงานของส่วนรวมดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             𑇐  ยุติความสัมพันธ์ ต่างคนต่างอยู่

             แต่ถ้ามาถึงจุดที่ไม่อาจจะแก้ไขได้จริง ๆ การยุติความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่มีนิสัยสุดจะทนคงเป็นทางออกที่ดีและได้ผลทันที หรือหากไม่สามารถต่างคนต่างอยู่ได้โดยไม่กระทบกับความรู้สึกและส่งผลต่อสภาพจิตใจ ลองมองหางานใหม่ที่มาพร้อมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีก็อาจเป็นการแก้ไขปัญหาเพื่อนร่วมงานเป็นพิษที่ได้ผลดีที่สุดก็เป็นได้

วิธีรับมือเพื่อนร่วมงานวายป่วง เพื่อชีวิตการทำงานที่ราบรื่น

             อย่าปล่อยให้เพื่อนร่วมงานสุดวายป่วงทั้งหลายบั่นทอนชีวิตการทำงานอีกต่อไป โบกมือลางานที่แสนเป็นพิษ แล้วลองเข้าไปค้นหางานใหม่ดี ๆ กันได้ทันทีที่ JOBTOPGUN ได้เลย

             ไม่ว่าคุณจะกำลังมองหางาน อยากสมัครงานบริษัทตำแหน่งไหน จะเป็นเด็กจบใหม่
ไฟแรง หรือต้องการมองหางานประจำที่ช่วยขยับขยายเปลี่ยนสาย Job ให้ก้าวหน้า ก็สามารถหางานด่วนที่ใช่ ในบริษัทที่ถูกใจ ได้ที่ JOBTOPGUN ทั้งทางเว็บสมัครงานออนไลน์ ที่รวบรวมงานพร้อมข้อมูลเงินเดือนจากบริษัทชั้นนำไว้มากมายกับแอปหางานที่อัปเดตใหม่ทุกวัน ดูแลให้คุณได้งานจริง ด้วย Super Resume ที่ให้คุณสร้าง Resume อย่างมืออาชีพ นำเสนอคุณให้โดดเด่นกว่าใคร ยังมีรีวิวบริษัทที่ช่วยให้คุณรู้จักบริษัทมากขึ้นตามความจริง โหลดแอป JOBTOPGUN ได้เลยวันนี้ แม้จบใหม่ก็หางานง่าย ได้งานดี ได้ที่ JOBTOPGUN

สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..