ทำอย่างไร ให้เลิกนิสัย ‘ผัดวันประกันพรุ่ง’


               “เอาไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยทำ” หรือ “ยังไม่ใกล้เดดไลน์ ขอดองไว้แล้วกัน” หากใครกำลังมีความคิดแบบนี้อยู่บ่อย ๆ ให้รู้ไว้เลยว่า คุณกำลังมีนิสัย “ผัดวันประกันพรุ่ง” หนึ่งในศัตรูตัวร้ายในการทำงานและการใช้ชีวิตในทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นคนเก่งหรือมีความสามารถขนาดไหน แต่ถ้าไม่รู้จักการบริหารจัดการเวลา สะสมงานไว้แบบดินพอกหางหมู จากคนเก่งก็จะกลายเป็นคนไม่รับผิดชอบและสร้างความเดือดร้อนให้ทั้งตัวเองและองค์กรอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นลองมาดูกันว่า “เราจะทำอย่างไรให้เลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง” และเปลี่ยนเป็นคนใหม่ที่ทำงานอย่างสดใสและมีประสิทธิภาพ

เทคนิคเลิกผัดวันประกันพรุ่ง เริ่มนิสัยลงมือทำทันที

ทำไมเราถึงผัดวันประกันพรุ่ง?

เพราะอะไรคนเราจึง (มักจะ) ผัดวันประกันพรุ่ง?   

               ไม่ว่าใครก็คงเคยเกิดอาการ “ผัดวันประกันพรุ่ง” (Procrastination) ไม่มากก็น้อย และแต่ละคนก็มักจะมีเหตุผลในการสะสมการงานและสิ่งที่ต้องทำจนกลายเป็นดินพอกหางหมูแตกต่างกันไป โดย 1 ใน 5 ของเหล่าคนวัยทำงานต่างเผชิญปัญหาจากการมีนิสัยผัดวันประกันพรุ่งและสั่งสมจนเกิดปัญหาสุขภาพทั้งทางกายและใจในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล มีอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย กินหรือนอนไม่เป็นเวลา ระบบย่อยอาหารแปรปรวน ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้เรื้อรังก็อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือโรคความดันและหลอดเลือดได้
               สาเหตุหลัก ๆ ของการผัดวันประกันพรุ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการจัดการกับ
ความกดดันทางอารมณ์และจิตใจที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยมีจุดเริ่มต้นจาก “ความกลัว” และ “ความไม่เชื่อมั่นในตนเอง” หลายคนไม่ยอมสะสางงานให้เสร็จ เพราะกลัวว่าจะทำได้ไม่ดีพอ กลัวความล้มเหลว กลัวการถูกตำหนิ ไปจนถึงคิดว่างานเหล่านี้ยากเกินความสามารถของ
ตัวเอง และไม่เชื่อว่าจะจัดการหรือผ่านความเครียดของการทำงานนี้ไปได้ นักจิตวิทยา
เรียกการมีนิสัยผัดวันประกันพรุ่งแบบนี้ว่า “แรงเสริมเชิงลบ” ซึ่งเป็นแรงเสริมที่ส่งผลเสียต่อพฤติกรรมและการแสดงออกจนกลายเป็นการติดนิสัย นอกจากนี้ การผัดวันประกันพรุ่งยังเกิดจากทัศนคติและนิสัยส่วนตัว รวมทั้งการอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) ซึ่งทำให้เกิดความท้อแท้ เบื่อหน่าย หมดพลัง และไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่จนกลายเป็นปัญหาระยะยาวในที่สุด

การผัดวันประกันพรุ่งอาจเกิดจากการหมดไฟในการทำงาน

แล้วจะทำอย่างไรให้เลิกนิสัย “ผัดวันประกันพรุ่ง”?   

               จริงแล้ว ๆ การเอาชนะความขี้เกียจและบอกลานิสัยผัดวันประกันพรุ่งนั้นทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด เรารวบรวมวิธีและเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยไม่ให้การผัดวันประกันพรุ่งมาเป็นอุปสรรคขวางกั้นอนาคตการทำงานมาให้แล้ว ลองไปทำตามกันดู!

               𑇐 วางแผนและจัดตารางการทำงาน  

                  เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการจัดตารางและลำดับความสำคัญของงานแต่ละประเภท
ลองเขียนออกมาเป็น To-Do Lists รายการสิ่งที่ต้องทำเป็นข้อ ๆ แล้วพิจารณาว่างานไหนสำคัญที่สุด เตือนตัวเองด้วยตารางกำหนดเวลางานที่ต้องส่งเป็นลำดับให้ชัดเจน ป้องกัน
ความสับสน แล้วจัดการเคลียร์งานนั้น ๆ ให้เสร็จก่อน

               𑇐 แบ่งงานใหญ่ออกเป็นงานย่อย

                  แทนที่จะพะวงกับความยากหรือความเยอะของงานทั้งชิ้น ลองแบ่งงานออกมาเป็นก้อนเล็ก ๆ ย่อย ๆ แล้วค่อย ๆ จัดการไปทีละสเต็ป จะทำให้มีกำลังใจการทำมากกว่าหักโหมทำงานทั้งหมดภายในครั้งเดียว (แต่อย่าลืมวางแผนงานให้ดีและส่งให้ตรงตามกำหนดเวลา
อยู่เสมอ)
                  เพราะงานที่ยากแสดงถึงความสำคัญและมีคุณค่าเมื่อทำเสร็จ หากเริ่มลงมือทำในตอนที่กำลังมีแรงกระตุ้นจะช่วยให้เราสามารถจัดการงานได้ดีกว่ามาทำทีหลังในเวลาที่หมดพลังหรือไม่ตื่นตัวแล้ว นอกจากนี้ การทำงานยาก ๆ ให้เสร็จไว้ก่อนจะช่วยผ่อนคลาย
ความตึงเครียดและทำให้รู้สึกว่าการจัดการงานยิบย่อยที่เหลือเป็นเรื่องสบาย ๆ มากขึ้น

               𑇐 หาพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม 

                  หนึ่งในปัญหาของการทำงานคือ การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ที่ทำงานอาจมีเสียงรบกวนหรือมีความวุ่นวายยุ่งเหยิง โต๊ะเก้าอี้นั่งไม่สบาย ซึ่งรบกวนสมาธิจนไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้ ลองมองหาพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวและเหมาะกับนิสัยการทำงานของเราอาจจะช่วยให้ทำงานเสร็จได้ไวขึ้นแบบไม่รู้ตัว

ลงมือทำทันทีไม่รอเวลาจนกลายเป็นการผัดวันประกันพรุ่ง

               𑇐 คิดในแง่บวกและสร้างกำลังใจให้ตัวเอง  

                  พยายามเปลี่ยนความคิดแง่ลบอย่าง งานนี้ทำไม่ได้แน่ ๆ หรือ เราคงรับมือ
ความน่าเบื่อของงานไม่ไหว ให้กลายเป็นการคิดว่า นี่คือความท้าทายครั้งใหม่และเป็นโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ลองเปิดใจให้กว้างแล้วคิดในแง่ดีหรือมองไปถึงผลลัพธ์
เมื่องานเสร็จว่าเราจะได้รับภาคภูมิใจหรือได้รับสิ่งตอบแทนดี ๆ อะไรกลับมาบ้าง เพื่อนำมาเป็นกำลังใจในการทำงานนั้น ๆ

               𑇐 ให้รางวัลตัวเองบ้าง  

                  เมื่อจัดการงานเสร็จ แม้จะเป็นขั้นตอนเล็ก ๆ น้อย ๆ ลองให้รางวัลตัวเองดูบ้าง
อาจเป็นเวลาพักผ่อนแสนสบาย มื้ออาหารสุดโปรด ดูหนังหรือซีรีส์ที่ชอบ ไปจนถึงออกไป
ช้อปปิ้งซื้อของที่อยากได้มานาน การให้รางวัลตัวเองจะช่วยให้เรามีแรงจูงใจในการทำงาน
ให้เสร็จมากยิ่งขึ้นและมีพลังฮึดสู้ในการทำงานอื่น ๆ ต่อไป เพราะรู้ว่าความสุขกำลังที่รอคอยใกล้จะมาถึงนั่นเอง

               𑇐 ลงมือทำทันที

                  สุดท้ายคงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการลงมือทำงานทันทีที่ทำได้ เพราะการยิ่งรอปล่อยเวลาให้ผ่านไปจะยิ่งทำให้พลังใจในการทำงานหมดไปเรื่อย ๆ การลงมือทำไปก่อนอาจช่วยให้เกิดความคิดหรือไอเดียสร้างสรรค์ดี ๆ มากกว่าการเลื่อนงานออกไปแล้วมัวแต่มานั่งคิดกังวลถึงสิ่งที่ยังไม่เกิด เพราะไม่ว่าอย่างไรการเริ่มต้นทำงานไปบ้างก็ยังดีกว่าการไม่ได้ทำอะไรเลย


               เช่นเดียวกับการมองหางานใหม่หรือไปสู่สายงานที่ก้าวหน้า อย่ามัวแต่ผัดวันประกันพรุ่ง เพราะตำแหน่งงานดี ๆ มากมายรอคุณอยู่ที่ www.jobtopgun.com หรือไปอ่านรีวิวบริษัทชั้นนำต่าง ๆ เป็นอีกทางเลือกได้ที่ www.yousayhrsay.com

สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..