5 วิธีกลับมารักตัวเองฉบับ People-pleaser
People-pleaser คนที่ชอบเอาใจทุกคน

            การทำงานโดยปกติมักจะมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง เช่น ความคิดเห็นในการทำงานไม่ตรงกัน สำหรับเหล่านักศึกษาจบใหม่หลาย ๆ คน เรื่องนี้อาจไม่ใช่เรื่องที่ทำให้รู้สึกสบายใจในการทำงาน แต่ทุก ๆ การทำงานล้วนทำให้เกิดการเรียนรู้ แต่ละคนมักจะมีวิธีการเอาตัวรอดจากสถานการณ์เหล่านี้ในแบบของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการปะทะอย่างตรงไปตรงมา การเจรจาอย่างละมุนละม่อม หรือการเอาตัวรอดสไตล์ People-pleaser ด้วยการขอโทษในทุกเรื่องและยอมรับทุกอย่างเข้าตัว ซึ่งอาจทำให้สถานการณ์จบลงอย่างง่ายที่สุดแต่เจ้าตัวมักจะเจ็บตัวที่สุด สำหรับใครที่คิดว่าตัวเองกำลังทรมานกับการแก้ปัญหาแบบ People-pleaser อยู่ วันนี้พวกเราขอแชร์ 5 วิธีที่อยากให้พวกคุณลองไปฝึกดูเพื่อให้กลับมารักตัวเองอีกครั้ง

หยุดฝืนใจตัวเองเพื่อเอาใจคนอื่น เลิกนิสัย People Pleaser

ก่อนอื่นเลย People-pleaser คืออะไร?

            หากอ้างอิงตามทฤษฎีทางจิตวิทยาเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) ทุกคนล้วนมีความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น ปัจจัย 4 ไปจนถึงความต้องการที่จะถูกรัก ถูกชื่นชม สำหรับคนทั่วไป การพยายามทำให้ตัวเองเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นชม มักจะมีลิมิตของตัวเองอยู่เพื่อที่จะทำให้ตัวเองยังรู้สึกสบายใจอยู่ แต่สำหรับ People-pleaser พวกเขามักจะฝืนตัวเองเพื่อที่จะทำให้คนอื่นรัก คนอื่นยอมรับในตัวเอง
จนเรียกได้ว่าทำให้ตัวเองลำบาก ซึ่งนั่นมีสาเหตุมาจากการที่พวกเขาผูกความสุขของตัวเองไว้กับความสุขของคนอื่น ดังนั้น ถ้าจะให้นิยาม People-pleaser เป็นภาษาไทย คนเหล่านี้คือ
คนที่เอาใจทุกคนนั่นเอง People-pleaser มักจะเป็นคนที่ดูน่าเข้าหา รู้สึกสบายใจที่จะอยู่ด้วย ฝากอะไรก็ทำให้ แต่หารู้ไม่ว่าพวกเขากำลังเผชิญกับความทรมานอยู่ลึก ๆ ในใจ

วิธีสังเกตว่าเราเป็น People-pleaser หรือไม่

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็น People-pleaser หรือเปล่า?

            สิ่งที่สังเกตได้อย่างง่ายว่าตัวเองเป็น People-pleaser หรือไม่คือเมื่อมีคนมาขอให้ช่วยทำอะไรบางอย่างที่เราไม่อยากทำ เราจะรู้สึกลำบากใจมากที่จะปฏิเสธจนต้องพูดว่า “ได้” ซึ่งผลลัพธ์ของการพูดว่า “ได้” นั้นก็คือความรู้สึกลำบากใจหรือความรู้สึกอื่น ๆ ในทางลบราวกับหนีเสือปะจระเข้ บุคลิกลักษณะอื่น ๆ ที่เด่นชัดของชาว People-pleaser มีอีกมากมาย ดังนี้

   𑇐   ฝืนใจทำสิ่งต่าง ๆ แบบไม่เป็นตัวของตัวเอง 
   𑇐   ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นหรือไม่กล้ายืนยันความคิดของตัวเองเพราะกลัวว่าจะถูกปฏิเสธ
   𑇐   คิดถึงความรู้สึกของคนอื่นมากเกินไปจนชินกับการพูดคำว่าขอโทษ
   𑇐   หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง เพราะไม่ชอบให้เกิดการอารมณ์เสียขึ้น
   𑇐   มีความสุขกับคำชมจากคนอื่น และจะทุกข์ใจอย่างหนักถ้าโดนตำหนิ
   𑇐   มักจะรู้สึกว่าตัวเองโดนเอาเปรียบอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิเสธของตัวเอง

People-pleaser มักฝืนใจทำสิ่งที่ไม่อยากทำ

ทำอย่างไรให้ People-pleaser กลับมารักตัวเองได้?

            อันที่จริง เหล่า People-pleaser มักจะรู้ตัวเองเสมอว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ตัวเองลำบากใจทั้งขึ้นทั้งล่อง แต่พวกเขาก็ต้องเรียนรู้ที่จะตีเส้นลิมิตให้ตัวเองด้วยเช่นกัน 5 วิธีดังต่อไปนี้เป็นวิธีที่น่าสนใจสำหรับ People-pleaser ในการลองไปทำตามดูเพื่อให้ตัวเองมีความสุข
มากขึ้น

            1) ถ้ายังไม่สะดวกที่จะเริ่มพูดว่า “ไม่” ก็อย่าเพิ่งตอบว่า “ได้”

            สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ People-pleaser ยังมูฟออนเป็นวงกลมก็เพราะว่าพวกเขาตอบว่า “ได้” เหมือนเป็นระบบ auto pilot ถ้าพวกเขาลองดึงตัวเองก่อนจะตอบรับและเปลี่ยนคำตอบเป็น “ขอดูก่อนนะ” มันจะช่วยทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองยังไม่ได้ทำลายความคาดหวังของใคร และเป็นกึ่ง ๆ คำปฏิเสธในตัวอยู่แล้ว

            2) ค้นหาให้เจอว่าความต้องการของตัวเองคืออะไร

            เส้นแบ่งที่ชัดเจนในการตอบรับหรือปฏิเสธของ People-pleaser คือเส้นที่พวกเขาต้องตีเอง ซึ่งมาจากการค้นหาให้เจอว่าในใจลึก ๆ ตัวเองต้องการสิ่งใด และสร้างสมดุลระหว่างการเอาใจคนอื่นและการเอาใจใส่ตัวเอง วิธีนี้นอกจากจะทำให้พวกเขายังได้รับการยอมรับอยู่
ยังเป็นการแสดงออกที่จริงใจต่อทั้งคนอื่นและตัวเองด้วย

People-pleaser ต้องขีดเส้นที่ชัดเจนในการตอบรับหรือปฏิเสธ

          3) ไม่ควรใช้เหตุผลอื่นเพื่อเลี่ยงการปฏิเสธ

            การปฏิเสธด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา เช่น “ขอไม่ไปด้วยนะ กลัวดึกแล้วไม่มีรถกลับบ้าน” ถือว่าเป็นดาบสองคมสำหรับ People-pleaser เพราะถ้าอีกฝ่ายไม่สามารถหาทางออกให้กับ
คำปฏิเสธนั้นได้ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าเกิดเจอวิธีแก้ปัญหาให้กับคำปฏิเสธนั้นได้ เช่น “เดี๋ยว
ขับรถไปส่งที่บ้านก็ได้” เหล่า People-pleaser ก็ต้องจมอยู่กับความอึดอัดต่อไป ทางที่ดีควรจะตอบให้ชัดเจนไปเลยว่าไม่อยากทำสิ่งนั้นจะดีกว่าโดยไม่ต้องกังวลว่าคนอื่นจะคิดอะไร

         4) ลองเลิกพูดคำว่า “ขอโทษ”

         การลองฝืนตัวเองไม่ให้พูดคำว่าขอโทษในทุก ๆ สถานการณ์เป็นการบังคับตัวเองให้ถอยห่างจากการเป็น People-pleaser โดยธรรมชาติ เพราะว่ามันเป็นเหมือนการสะกดจิตตัวเองว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนผิด และก็ต้องฝึกแยกแยะให้ได้ด้วยเช่นกันว่าเรื่องไหนที่จำเป็นต้องขอโทษ เรื่องไหนไม่จำเป็น

         5) เข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา

         หากการปฏิเสธคนอื่นเป็นเรื่องยากจนทำให้เกิดอาการเครียดหรือวิตกกังวล พวกเรา
ขอแนะนำว่าให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อให้พวกเขาแนะนำวิธีการจัดการกับอารมณ์อย่างเหมาะสม รวมถึงหาวิธีลดความเป็น People-pleaser ที่เข้ากับสไตล์ของคุณ

ลดความเป็น People-pleaser ด้วยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

            เมื่อเหล่า People-pleaser กลับมาแคร์ตัวเองมากขึ้นแล้ว ก็ถึงเวลาค้นหาองค์กรที่แคร์คุณเช่นกันที่เว็บไซต์ www.jobtopgun.com ที่นี่รวบรวมงานดี ๆ ที่เหมาะกับคุณมากกว่า 5,000 ตำแหน่ง รวมถึงสามารถอ่านรีวิวบรรยากาศการทำงาน สวัสดิการ และอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจสมัครงานของคุณได้ทางเว็บไซต์ www.yousayhrsay.com

สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..