10 วิธีรับมือหลังตกงาน ล้มแล้วต้องลุกได้อย่างมั่นคง
ตกงานกะทันหันมีวิธีรับมือหลังตกงาน

             ถูกเลิกจ้าง! ตกงานกะทันหัน! เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากนึกถึง แต่มักจะมาแบบไม่ทันตั้งตัว เมื่อตกงานแล้วทำยังไงดี วิธีรับมือหลังตกงานประการแรกคือการตั้งสติ และยังมีอีกหลายวิธีที่จะช่วยให้สามารถก้าวผ่านภาวะวิกฤตนี้ และลุกขึ้นมาตั้งหลักได้อย่างมั่นคง

วิธีรับมือหลังตกงาน ตั้งตัวให้ไว เดินหน้าต่อได้อย่างมั่นคง

10 วิธีรับมือหลังตกงาน เพื่อตั้งหลักและลุกขึ้นยืนอย่างมั่นคง

             สำหรับใครเพิ่งตกงานอย่างไม่ทันตั้งตัว จนรู้สึกเคว้งคว้าง ไม่รู้ว่าตกงานทำอะไรดี เรามีวิธีรับมือหลังตกงานที่สามารถนำไปปรับใช้ได้มาบอกกัน ดังต่อไปนี้

             1. จัดการกับความรู้สึกของตนเอง

             การตกงานแบบไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจ ย่อมทำให้หลายคนรู้สึกเสียใจ เป็นกังวล เครียด และท้อแท้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้นให้ไวที่สุด เมื่อสภาพจิตใจเริ่มดีขึ้น ก็จะเริ่มมองหางานใหม่ ๆ หรือวางแผนการในชีวิตต่อไปได้

             2. ตรวจสอบสุขภาพการเงิน

             เมื่อเริ่มรู้สึกดีขึ้นจากความเศร้าและเสียใจหลังตกงาน สิ่งต่อมาที่ต้องทำคือการตรวจสอบสุขภาพทางการเงินของตนเอง โดยต้องดูว่ามีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายเท่าไร มีหนี้สินอะไรที่ต้องชำระบ้างในแต่ละเดือน รวมถึงมีรายจ่ายในชีวิตประจำวันอะไรบ้าง เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้วางแผนการใช้จ่าย และกำหนดระยะเวลาในการหางานหรืออาชีพใหม่ต่อไป

             3. ปรับแผนการใช้จ่าย

             หลังจากการประเมินสุขภาพทางการเงินของตนเองแล้ว จะทำให้เห็นเลยว่ามีเงินสำรองสำหรับใช้จ่ายได้อีกเป็นระยะเวลาเท่าไร วิธีรับมือหลังตกงานต่อมาคือการปรับแผนการใช้จ่ายใหม่ โดยตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก หรือลดค่าใช้จ่ายบางอย่างลง เพื่อยืดระยะเวลาในการใช้เงินสำรองออกไปให้นานที่สุด และเหลือเงินเก็บเพียงพอที่จะใช้จ่ายไปจนกว่าหางานใหม่ได้ 

             4. เคลียร์เงินชดเชยและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

             ปกติแล้วลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากนายจ้าง ในกรณีที่ถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่มีความผิด ซึ่งอัตราเงินชดเชยที่ได้รับจะแตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน

             ในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลูกจ้างต้องเป็นผู้ตัดสินใจเองว่า จะคงเงินไว้ในกองทุนตามเดิม เพื่อจะได้มีเงินออมต่อเนื่อง หรือจะนำเงินจากกองทุนออกมาใช้จ่าย

             อย่างไรก็ดี เงินทั้งสองส่วนนี้ นับว่ามีความสำคัญสำหรับผู้ที่เพิ่งตกงานเป็นอย่างมาก จึงต้องนำมาพิจารณาให้ดีว่า จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรถึงจะคุ้มค่า และสามารถเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ช่วยให้ชีวิตสามารถดำเนินต่อไปได้ระหว่างรองานใหม่นั่นเอง

             5. จัดการเรื่องประกันสังคม

             นอกจากเงินชดเชยจากนายจ้างและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ผู้ที่ถูกเลิกจ้างยังมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม โดยจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งจะคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 12,000 บาท จะได้รับเดือนละ 6,000 บาท

             เงินในส่วนนี้ สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยลดการนำเงินก้อนออกมาใช้ในระหว่างการหางานใหม่นั่นเอง

แนะนำวิธีรับมือหลังตกงาน เพื่อให้สามารถก้าวผ่านได้

             6. ถนอมเงินก้อนในมือให้มากที่สุด

             สิ่งที่ต้องตระหนักไว้เสมอสำหรับคนที่ตกงานแล้วได้รับเงินชดเชยต่าง ๆ คืออย่ารีบร้อนใช้เงินก้อนจนหมด โดยให้จัดสรรปันส่วนไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และเหลือเก็บออมเป็นหลักประกันหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น เจ็บป่วย ไม่สบาย จะได้มีเงินไว้จ่ายค่ารักษาพยาบาล

             7. ทำงานฟรีแลนซ์ เปลี่ยนอาชีพใหม่

             หากหางานใหม่ไปสักระยะ แล้วเริ่มรู้สึกว่าหางานประจำได้ยาก กลัวว่ากว่าจะหางานได้ เงินสำรองที่มีจะหมดไปเสียก่อน ลองเปลี่ยนมามองหางานในรูปแบบของฟรีแลนซ์ดูบ้าง ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะจะทำให้มีรายได้ไว้สมทบเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

             อีกทั้งยังควรลองทำอาชีพใหม่ ๆ เช่น การขายสินค้าออนไลน์ โดยเริ่มจากการลงทุนน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ ขยับขยายไป เพื่อให้ได้พอมีเงินมาใช้จ่ายมากขึ้น และไม่แน่ว่าอาจจะขายดี จนนำไปสู่การเป็นอาชีพหลักในอนาคตเลยก็เป็นได้

             8. ใช้เวลาพัฒนาทักษะตนเองเพิ่มเติม

             ในระหว่างการหางานใหม่ ควรใช้เวลาว่างไปกับการหาคอร์สเสริมทักษะทางอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านการสื่อสาร การใช้ภาษาต่างประเทศ หรือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งนอกจากจะเป็นวิธีรับมือหลังตกงานเพื่อช่วยลดความฟุ้งซ่านลงแล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานด้วย อีกทั้งยังสามารถนำไปกรอกไว้ในเรซูเม่ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้แก่ประวัติของตน เพิ่มโอกาสในการได้งานใหม่อีกด้วย

             9. หางานใหม่เร่งด่วน

             สำหรับผู้ที่ไม่มีรายได้ แต่ยังคงมีรายจ่ายเข้ามาอยู่เสมอ การพยายามหางานใหม่อย่างเร่งด่วน จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งต้องมีตัวช่วยดี ๆ อย่างเว็บไซต์หางานที่มีประสิทธิภาพ และรวมตำแหน่งงานไว้มากมาย เพื่อที่จะช่วยให้หางานได้ง่ายขึ้น

             10. อัปเดตเรซูเม่ให้น่าสนใจ

             การอัปเดตเรซูเม่ ไม่ว่าจะเพิ่มข้อมูลทักษะต่าง ๆ ที่ไปเรียนมาระหว่างว่างงาน หรือว่าประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างไปจากเดิม รวมถึงการเปลี่ยนรูปถ่ายใหม่ จะทำให้เรซูเม่มีความน่าสนใจขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการหางานได้

             ทั้งหมดนี้คือวิธีรับมือหลังตกงาน ที่จะช่วยให้คุณก้าวผ่านวิกฤตได้อย่างมั่นคง และเริ่มต้นหางาน กทม. และที่อื่น ๆ ได้อย่างมั่นใจ และสำหรับใครที่ต้องการหางานกรุงเทพฯ ในองค์กรชั้นนำ มาค้นหาตำแหน่งงานในบริษัทที่ใช่ ที่ JOBTOPGUN แอปหางานที่อัปเดตใหม่ทุกวัน ดูแลให้คุณได้งานง่าย ด้วย Super Resume ที่ให้คุณสร้าง Resume อย่างมืออาชีพ พร้อมนำเสนอคุณให้โดดเด่นกว่าใคร และยังมีรีวิวบริษัทที่ช่วยให้คุณรู้จักบริษัทตามความจริง ดูแลให้คุณได้งานที่ดี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ได้ที่เบอร์ 02-853-6999 หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน JOBTOPGUN ได้ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android

สมัครงานกับบริษัทชั้นนำทันที สร้าง Super Resume (ใบสมัครงาน) เลย ฟรี!

คำค้นหายอดนิยม

..